อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ | คลังข้อมูล | ผลธัญญะ | ศูนย์รวมอุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล ครบวงจร

คลังข้อมูล

หน้าแรก > คลังข้อมูล > อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ

อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ

เมื่อ 11 ธันวาคม 2556 หมวดหมู่ อุปกรณ์ทำงานในที่อับอากาศ (Confine Space)

อุปกรณ์ถ่ายเทอากาศในที่อับอากาศ
( Confined Space Ventilator)



ระบบการถ่ายเทอากาศจะจำเป็นต้องถูกใช้ในสถานที่ทำงานต่อเมื่อสถานที่ดังกล่าวมีสภาพดังต่อไปนี้
 
-          มีอ็อกซิเจนไม่เพียงพอ น้อยกว่า 19.5%ของมวลอากาศ หรืออ็อกซิเจนมากเกินไปจนอาจเป็นพิษ เกิน 23.5% ของมวลอากาศ
-          มีไอหรือละอองของสารไวไฟ
-          มีไอ,ละออง,ฝุ่น หรือแก็สพิษ
-          มีสภาพอากาศร้อน
-          มีการทำงานที่อาจทำให้เกิดฝุ่น ละออง หรือแก็ส ที่นำไปสู่การทำให้อ็อกซิเจนขาดแคลนหรือมากเกินไป 
-          การทำงานที่เกี่ยวกับความร้อนเช่น งานเจียร งานตัด งานเชื่อม
 
การใช้พัดลมดูดอากาศเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการนำอากาศบริสุทธ์เข้าไปในสถานที่ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ขจัดอากาศที่มีสิ่งปนเปื้อนออกจากสถานที่ทำงาน และเพื่อรักษาระดับอ็อกซิเจนในอากาศ การระบายอากาศที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิผลของพนักงาน
พัดลมดูดอากาศทำงานโดยการดูดอากาศจากบริเวณหนึ่ง อัดอากาศและปล่อยเข้าไปในสถานที่อับอากาศภายใต้ความดันและความเร็วลม(ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)ที่คงที่ กระบวนการนี้จะทำให้อากาศบริสุทธิ์ไหลเข้าไปในพื้นที่และขับไล่อากาศที่มีสิ่งปนเปื้อนออกมา เมื่อมีการตัดสินใจจะใช้พัดลมดูดอากาศในสถานทำงาน การเลือกพัดลมที่เหมาะกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง
เพราะพัดลมดูดอากาศไม่ได้มีแค่เพียงขนาดเดียว ผู้ใช้ไม่สามารถเลือกได้โดยเพียงแค่เห็น การเลือกจำเป็นต้องมีความรู้พอสมควร เช่นว่า จะเลือกแบบที่รุ่นแบบ hazardous หรือ non-hazadous, ใช้แก๊สหรือใช้ไฟฟ้า, ความเร็วลมเท่าได สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนเลือกพัดลม


การเลือกประเภทพัดลม

Hazardous or Non-Hazardous Type
การเลือกพัดลม ขั้นแรกให้เริ่มดูที่สถานที่ใช้งาน โดยจะแบ่งเป็น  2 ประเภท คือสถานที่อันตรายและ ไม่อันตราย ๖(hazardous or non-hazardous) พื้นที่ใดที่มีโอกาสจะติดไฟหรือระเบิดเนื่องจากมีวัสดุที่ติดไฟตามที่สถาบัน National Electric Code® (NEC) ของสหรัฐอเมริการะบุไว้ เช่น โรงงานปิโตรเคมี, ปั๊มน้ำมัน, โรงงานอุดตสาหกรรมบางประเภท เป็นต้น
 
ถ้า NEC กำหนดพื้นที่ไดไว้ว่าเป็นพื้นที่อันตราย อุปกรณ์เฉพาะจะต้องถูกใช้ พัดลมดูดอากาศสำหรับสถานที่อันตราย (Hazardous Type) จะต้องออกแบบให้ทำจากโครงสร้างกันการเกิดประกายไฟ ตัวพัดลมจะต้องควบคุมการเกิดประกายไฟ พัดลมประเภทนี้จะประกอบด้วยมอเตอร์กันระเบิด(explosion-proof motors) แต่ถึงแม้จะเรียกว่าพัดลมกันระเบิด แต่ไม่ได้หมายความว่ามอเตอร์ชนิดนี้จะไม่ระเบิด เพียงแต่ตัวมอเตอร์ทำจากโครงสร้างที่มีความแข็งแรงและเหนียวพอที่จะทำให้ตัวมอเตอร์ไม่แตกกระจายออกเมื่อเกิดการะเบิดขึ้นภายใน
 
สำหรับพัดลมแบบไม่ใช้ในสถานที่อันตราย คือพัดลมที่ใช้ในสถานที่ที่ไม่ถูกระบุไว้ว่าเป็นสถานที่อันตราย โดยโครงสร้างพัดลมชนิดนี้จะออกแบบโดยไม่เป็นแบบที่กันประกายไฟ การเลือกพัดลมทั้งสองประเภทจะขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และตำแหน่งการติดตั้ง

ระบบการดูดอากาศ
พัดลมสามารถแบ่งได้ตามระบบการดูดอากาศได้ดังนี้
พัดลมแบบดูดแนวตรง หรือ axial fan 
 
มีอยู่ 3 ชนิดคือ Propeller Fan, Tubeaxial fan และ Vanaxial Fan
 
Propeller Fan หรือพัดลมระบายอากาศ ลักษณะของพัดลมชนิดนี้จะเหมือนพัดลมทั่วไป อาจประกอบด้วยใบพัด 1 หรือ 2 ใบพัด โดยพัดลมแบบนีจะสามารถทำให้อากาศเคลื่นที่ได้จำนวนมาก แต่แรงอัดอากาศจะน้อย
 


 
Tubeaxial Fan ลักษณะของพัดลมชนิดนี้จะมีขนาดท่อพัดลมค่อนข้างยาว แต่ขนาดใบพัดจะสั้นกว่าแบบ Propeller Fan พัดลมแบบนี้จะมีแรงอัดอากาศสูง สามารถควบคุมทิศทางลมได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ ขนาดใหญ่และหนักมาก เคลื่อนย้ายได้ลำบาก
 


 
Vanaxial Fan เป็นพัดลมที่พัฒนามาจาก Tubeaxial Fan โดยจะมีช่วงท่อพัดลมที่สั้นกว่า แต่ใช้ใบพัดแบบพิเศษช่วยทำให้แรงดันอากาศที่สูงกว่า ทำให้พัดลมชนิดนี้เหมาะสมอย่างมากในการใช้ในสถานที่อับอากาศ


 
การคำนวณขนาดพัดลม
ขนาดพื้นที่และตำแหน่งการติดตั้งเป็นส่วนที่สำคัญในการเลือกพัดลม โดยในสถานที่อับอากาศแต่ละแห่งจะมีความต้องการความเร็วลมที่ต่างกัน  การคำนวณแรงลมสามารถทำได้ตามหลักการดังนี้
-       ขนาดพื้นที่เท่าไหร่(เป็นลูกบาศก์ฟุต)
-       จำนวนครั้งในการเปลี่ยนอากาศต่อชั่วโมง air changes per hour (ACH) --- ในการหา ACH พนักงานจะต้องใช้วิจารณญาณของตนเอง โดยคำนึงถึงปริมาตรและความรุนแรงของสิ่งปนเปื้อน หรือกำหนดโดยกฏหมายในพื้นที่นั้นๆหรือระเบียบของโรงงาน
เมื่อรู้ตัวเลขทั้งสองนี้แล้ว ให้เอาตัวเลขทั้งสองมาคูณกันเพื่อค่าแรงลม(CFM)ที่ต้องการ
ยกตัวอย่าง เช่น
กฎระเบียบในพื้นที่ กำหนดว่าการเปลี่ยนอากาศต้องมีอย่างน้อย 6 ครั้งต่อชั่วโมง (6 ACH) ถ้าพื้นที่อับอากาศมีปริมาตร 10,000ลูกบาศก์ฟุต ดังนั้น ต้องการลมขนาด 60,000 ลูกบาศก์ฟุต แล้วหารด้วยจำนวนนาทีใน 1 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 60 ดังนั้นแรงลมขั้นต่ำที่ต้องการจะเท่ากับ 1,000 CFM (ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)
ในขณะที่ขนาดพื้นที่มีผลต่อขนาดของพัดลม บริเวณที่ติดตั้งพัดลมจะมีผลต่อทั้งขนาดพัดลมและท่อลม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ ซึ่งความยาวของท่อจะส่งผลต่อขนาดพัดลมได้ เนื่องจากว่ายิ่งความยาวท่อยาวก็ความแรงดันของลมก็จะยิ่งลดลง เนื่องจากจะมีการสูญเสียแรงเนื่องจากแรงเสียดทานของพื้นผิวภายในท่อ ดังนั้นหากมีการใช้ท่อที่ยาวมากก็ควรจะเลือกขนาดพัดลมที่มีแรงดันอากาศมากกว่าปกติ
 
 
พัดลมแบบดูดแนวแกนหมุน หรือ Centrifugal fan
พัดลมชนิดนี้จะดูดอากาศโดยใช้ใบพัดแบบวงล้อ โดยทั่วไปพัดลมประเภทนี้จะทำให้อากาศเคลื่อนตัวช้ากว่าแบบแนวตรง แต่มีความดันอากาศที่สูงกว่าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้คู่กับท่ออากาศ
 

 
 
อุปกรณ์เร่งความดันอากาศ (Flow Amplifier)

อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่เหนี่ยวนำอากาศให้เคลื่อนไหวไปในแนวของอุปกรณ์เพื่อเพิ่มแรงลม โดยอุปกรณ์นี้จะทำงานโดยเพียงแค่ใช้ท่ออากาศที่มาจากเครื่องอัดอากาศไหลสู่อุปกรณ์ในส่วนฐานของอุปกรณ์ อุปกรณ์จะทำหน้าที่ควบคุมลมเคลื่อนที่ออกมาผ่านช่องลมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความแรงอากาศ อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในสถานที่อันตรายหรือเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ เนื่องจากไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวในอุปกรณ์ โดยการใช้งานควรมีการยึดกับพื้นและมีเชื่อมต่อที่มั่นคง เพื่อป้องกันการเกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์
 


 
เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor)
 
การใช้เครื่องอัดอากาศนี้โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีเมื่อสถานที่ทำงานมีข้อจำกัดในการเข้าถึง หรือมีทางเข้าที่เล็ก ท่ออากาศปกติเข้าไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ท่อที่มีขนาดเล็ก แต่การใช้เครื่องอัดอากศนี้มีข้อจำกัดคือห้ามใช้ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดไฟ เนื่องจากเป็นแหล่งที่อาจทำให้เกิดประกายไฟได้
 
แหล่งพลังงานของพัดลม
ปัจจัยอีกอย่างที่สำคัญก็คือชนิดแหล่งพลังงานของพัดลม ซึ่งปกติพัดลมแต่ละชนิดจะใช้แหล่งพลังงานได้เพียงอย่างหนึ่ง ซึ่งได้แก่
Electrical         
--- ไฟฟ้า กระแสสลับ (AC) สำหรับใช้ทั่วไปในการทำงาน
--- ไฟฟ้า กระแสตรง (DC) มักใช้ในกับแบตเตอรี่รถยนต์ ในการทำงานนอกสถานที่
Pneumetic       
--- ใช้แรงดันลมจากเครื่องอัดอากาศ มักใช้ในสถานที่ที่เสี่ยงอันตราย ไม่เหมาะกับการใช้แก๊สหรือไฟฟ้า
Engine            
--- เครื่องยนต์ใช้น้ำมัน มักใช้ในการทำงานนอกสถานที่ แต่ห้ามใช้ในสถานที่ที่เสี่ยงกับการติดไฟ
 
ซึ่งที่เป็นที่นิยมสำหรับสถานที่อับอากาศจะเป็นแบบใช้ไฟฟ้าและแบบใช้แรงดันลม ซึ่งการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพที่ทำงานว่าเหมาะสมกับแหล่งพลังงานอย่างใด การไม่พิจารณา อาจทำให้อุปกรณ์ที่ซื้อมาใช้งานไม่ได้ เช่น ซื้อพัดลมแบบใช้ไฟฟ้ามาแล้วไม่มีเต้าเสียบ หรือ ซื้อแบบใช้แก๊สมาแต่พบว่าสถานที่นั้นไม่อนุญาตให้ใช้พัดลมที่มีควัน เป็นต้น

 
 
pholonline ร้านค้าอุปกรณ์เซฟตี้ Online