การเลือกตู้จัดเก็บสารเคมี | คลังข้อมูล | ผลธัญญะ | ศูนย์รวมอุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล ครบวงจร

คลังข้อมูล

หน้าแรก > คลังข้อมูล > การเลือกตู้จัดเก็บสารเคมี

การเลือกตู้จัดเก็บสารเคมี

เมื่อ 11 ธันวาคม 2556 หมวดหมู่ อุปกรณ์จัดเก็บสารเคมี สารไวไฟ (Flamable Storage)

การเลือกตู้จัดเก็บสารเคมี
 

ตู้นิรภัยมีสี ขนาด และ รูปทรงจัด แบบประตู วัสดุของตัวตู้ นอกจากเลือกตู้ที่ตรงตามความต้องการแล้ว
ยังต้องพิจารณาในเรื่องของตู้ที่ผ่านมาตรฐาน NFPA,OSHA และ FM Chemical Characteristics
นอกจากปัจจัยต่างๆข้างต้นแล้วยังต้องพิจารณาลักษณะคุณสมบัติทางเคมีจาก Material Safety Data Sheet
(MSDS) เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดเก็บ และยังต้องทำการการ ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน
ให้มีความชำนาญในการใช้งานเป็นอย่างดี
 
วัสดุของตัวตู้
ปัจจัยหนึ่งในการเลือกตู้คือวัสดุของตัวตู้เอง เป็นต้นว่า
สารเคมีมีฤทธิ์เป็นกรดแต่ไม่ไวไฟ ควรเลือกใช้ตู้ที่ทำจาก polyethylene หรือทำจากไม้ เนื่องจากวัสดุดังกล่าวจะทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี
สำหรับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเล็กน้อยแต่ติดไฟได้ง่าย แนะนำให้ใช้ตู้เหล็กเพราะเหล็กจะทนทานต่อ
เปลวไฟที่เกิดขึ้น และการเลือกสีของตู้ที่ถูกต้องจะจัดระเบียบและการจำแนกชนิดของสารแต่ละประเภทออกจากกัน



Capacity Factors
OSHA ได้มีการกำหนดชนิด และประเภทของสารเคมีที่ต้องจัดเก็บไว้ภายในตู้นิรภัย โดยเจ้าของภาครัฐหรือ
บริษัทประกันบางรายอาจจะยึดหลักของ OSHAมาประเมินความเสี่ยงของสถานที่นั้น ๆ นอกจากชนิดที่กำหนดไว้ปริมาณของสารที่ทำการจัดเก็บก็เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาเช่นกัน Justrite ผลิตตู้จัดเก็บสารเคมีตั้งแต่ขนาด 4 ถึง
120 แกลลอน (15 ถึง 454 ลิตร) ทั้งนี้ OSHA ได้กำหนดระดับของสารไวไฟออกเป็น Class โดย Class I เป็นของเหลวที่ติดไฟได้ง่ายสามารถจัดเก็บได้ไม่เกิน 60 แกลลอน ( 227 ลิตร) Class II จัดเก็บได้ไม่เกิน 120 แกลลอน และ Class III ให้จัดเก็บอยู่ในตู้เดี่ยวๆ อย่างไรก็ตามในปี 2008 เวอร์ชันของ NFPA 30ระบุ ว่า ปริมาณ ของ Class I, II และ IIIA สามารถจัดเก็บได้ไม่ เกิน120 แกลลอน อย่างไรก็ตามนอกจากข้อกำหนดข้างต้นแล้วยังคงต้องคำนึงถึง
กฎหมายของแต่พื้นที่ที่สถานประกอบการได้จัดตั้ง
 
ที่มา:
คู่มือการเลืออุปกรณ์จัดเก็บสารเคมี ภาษาไทย (Justrite's Red Book)  
http://www.pdgth.com/file-pdf/Justrite%20Redbook%20Thai%20Small.pdf